Posted : 17 Aug 2020

AVA Super Chart คือการวิเคราะห์งบการเงินแบบสรุปในรูปแบบกราฟในแบบไตรมาสและรายปี ที่มีตัวเลขทางการเงินที่น่าสนใจของบริษัทจดทะเบียนในทุกแง่มุม แบ่งเป็น 4 หมวด

ส่วนแรกเป็นการแสดงข้อมูลเชิงสรุปที่เกี่ยวกับภาพรวมบริษัทไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของรายได้ ค่าใช้จ่ายภาษี และภาพรวมของกระแสเงินสดอาทิเช่น กำไรสุทธิ (Net Profit) กำไรขั้นต้น (Gross Profit) กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ดอกเบี้ย (Interest) และภาษี (Tax) เปรียบเทียบกับเปอร์เซ็นต์ของรายได้ (Revenue) รายได้ก่อนหักภาษี (Earning Before Tax) และเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย (Sale) นอกจากนี้ยังมีกราฟสรุปการหมุนเวียนของกระแสเงินสด (Cash Cycle) และมีส่วนวิเคราะห์เพิ่มเติมที่เปรียบเทียบกระแสเงินสดแฝงในรูปแบบอื่น ฟีเจอร์เหล่านี้กระชับข้อมูลในการพิจารณางบการเงินได้อย่างรวดเร็ว AVA ขอยกตัวอย่างกราฟบางส่วนที่น่าสนใจของหมวด General ซึ่งมีประโยชน์ในการพิจารณาบริษัทจดทะเบียน

การแสดงกำไรสุทธิที่บริษัทจดทะเบียนมีหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับการผลิตและการขายทั้งหมดไปแล้วมาเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ของยอดขายที่มีจากแผนภูมิข้างบนนักลงทุนจะเห็นได้ว่ากราฟแท่งซึ่งแสดงถึงกำไรขั้นต้น (Gross Profit) ของบริษัทได้เพิ่มขึ้นทุกปีเพราะบริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ดีมาก ขึ้นตามลำดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกราฟซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย (% Sale) แล้วนั้นจะเห็นได้ชัดเจนว่าบริษัทยังขายของไม่ได้ดีเท่าไรนักเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า

การเปรียบเทียบกำไรสุทธิ (Net Profit) ซึ่งเป็นยอดขายทั้งหมดหลังจากหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และภาษีไปกับเปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมทั้งหมด นักลงทุนจะเห็นได้ว่า กราฟแท่งซึ่งแสดงถึงกำไรสุทธิของบริษัทได้เพิ่มขึ้นมาอย่างมีนัยยะทุกปีซึ่งสอดคล้องกับกราฟเส้นซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ต่อปี (Revenue) ซึ่งมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จึงแสดงไห้เห็นได้ว่า บริษัทดำเนินกิจการมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สัมพันธ์กับแนวโน้มรายได้ที่เติบโตทุกปี

ในส่วนที่สองจะเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงสรุปซึ่งลึกมากกว่าในส่วนของ General ซึ่งในส่วนของ Advance นี้จะเป็นการวิเคราะห์คุณภาพในการบริหารกิจการของบริษัทจดทะเบียน โดยการใช้อัตราส่วนทางการเงินและข้อมูลที่สำคัญมาประกอบอาทิเช่น ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) และอัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (A. Turnover) ซึ่งเป็นกราฟเส้นโดยหมวด Advance จะนำข้อมูลกราฟเส้นเหล่านี้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลตั้งต้นที่เหมาะสมเพื่อทราบถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน

คลิกเพื่อดูค่า Revenue Vs Asset Turnover ของหุ้น CPALL ได้ที่นี่เลยคลิกเพื่อดูค่า Revenue Vs Asset Turnover ของหุ้น CPALL ได้ที่นี่เลย

 AVA ขอหยิบยกกราฟที่น่าสนใจที่สุดในหมวดนี้ซึ่งก็คือ Revenue VS Asset Turnover สำหรับกราฟนี้สาระสำคัญคือ อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Asset Turnover) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรายได้กับสินทรัพย์ของ บริษัทและบ่งบอกได้ว่าบริษัทสามารถใช้สินทรัพย์เพื่อเพิ่มพูนรายได้ดีแค่ไหนดังนั้นรายได้ (Revenue) จึงต้องนำมาเปรียบเทียบควบคู่กันเพื่อประเมินคุณภาพในส่วนของรายได้จากสินทรัพย์ สำหรับกราฟนี้แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นมากทุกปี แต่การหารายได้จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก

เป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงสรุปที่เน้นภาพรวมของการเติบโตของบริษัทโดยใช้มาตรวัดชี้นำการเติบโต อาทิเช่น รายได้ (Revenue) กำไรขั้นต้น (Gross Profit) ค่าใช้จ่ายในการขายหรือบริหาร (SG&A) กำไรก่อนหักดอกเบี้ยภาษีและค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ซึ่งสามารถเปรียบเทียบเป็นรายไตรมาสและรายปีได้ ซึ่งในส่วน Growth นี้กราฟแท่งจะแสดงถึงข้อมูลตั้งต้นเพื่อประเมิน Growth จากนั้น กราฟเส้นจะเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์รายไตรมาสหรือปีต่อปี

การนำเสนอข้อมูลเชิงสรุปเน้นกระแสเงินสดที่ไหลเวียนในบริษัทตามหมวดหมู่อาทิเช่น ลูกหนี้การค้า (A/R) เจ้าหนี้การค้า (A/P) และสินทรัพย์ที่มีตัวตนที่กิจการมีไว้เพื่อการผลิต จำหน่าย ให้เช่า หรือบริหารงาน (PP&E) การจำแนกกระแสเงินสดออกตามประเภทของสินทรัพย์ทำให้นักลงทุนพิจารณาเงินทุนได้ว่าบริษัทใช้ลงทุนในไปในส่วนนั้นมาก หรือ น้อยแค่ไหน เช่นถ้าสินค้าคงคลัง (Inventories) ของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะสามารถคาดการณ์ได้ว่าบริษัทจะมีการซื้อวัตถุดิบในการผลิตมากขึ้นเพราะลูกค้าต้องการสินค้ามากขึ้นหรือการจองสินค้านั้นมากขึ้น เป็นสัญญาณในเชิงบวกที่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของเจ้าหนี้การค้า (A/P Net) หากบริษัทซื้อวัตถุดิบในการผลิตโดยใช้เครดิตเป็นต้น

AVA Super Chart จะให้มิติใหม่ในการดูงบการเงินที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อนอย่างแน่นอน

AVA Advisor

Author AVA Advisor

More posts by AVA Advisor